แม้จะพูดกันว่าตระกูลเกลเซอร์เป็นเจ้าของสโมสรแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด แต่จริงๆ มหาเศรษฐีชาวอเมริกันครอบครัวนี้เป็นผู้ถือหุ้มมากที่สุดของสโมสร ซึ่งการตัดสินใจต่างๆ ที่สำคัญเกี่ยวกับสโมสรอย่างการขายหุ้มจำนวน 25 เปอร์เซ็นต์ให้กับเซอร์จิม แรตคลิฟฟ์หรือไม่ จะเป็นการตัดสินใจโดยการลงคะแนนของคณะกรรมการบริหารระดับสูงจำนวน 12 คน เพียงแต่ว่าในจำนวนนี้มีคนนามสกุลเกลเซอร์อยู่ถึง 6 คน ลองมาดูกันว่า 12 คนในคณะกรรมการบริหารระดับสูงที่มีสิทธิ์ตัดสินอนาคตสโมสรมีใครกันบ้าง
อัฟราม เกลเซอร์ – ประธานบริหารร่วมและกรรมการ
ในคณะกรรมการบริหารระดับสูงของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดมีอัฟรามและโจเอล เกลเซอร์เป็นผู้มีตำแหน่งสูงสุดซึ่งควบคุมทุกการบริหารของทีมปีศาจแดงหลังจากที่มัลคอล์มผู้เป็นบิดาป่วยจากอาการเส้นลือดสมองอุดตันเมื่อปี 2006 โดยอัฟรามวัย 62 ปี จะเป็นผู้ที่ปรากฏตัวต่อสาธารณชนมากกว่าประธานร่วมอีกคน อย่างการเข้าไปดูเกมสำคัญของยูไนเต็ดอย่างชัดชิงชนะเลิศคาราบาวคัพและเอฟเอคัพเมื่อฤดูกาลที่แล้ว รวมไปถึงการปรากฏตัวที่โอลด์แทรฟฟอร์ดเมื่อมีการแข่งขันนานๆ สักครั้ง อย่างไรก็ตามเมื่อปี 2021 อัฟรามได้ขายหุ้มจำนวน 5 ล้านหุ้นซึ่งมีมูลค่ากว่า 70 ล้านปอนด์ออกไปจึงทำให้เหลือการถือจำนวนหุ้นที่มีสิทธิ์ในการออกเสียงอยู่ 14 เปอร์เซ็นต์
โจเอล เกลเซอร์ – ประธานบริหารร่วม และกรรมการ
ในบรรดา 6 พี่น้องตระกูลเกลเซอร์ โจเอลเป็นผู้ถือหุ้นมากที่สุดด้วยจำนวน 19 เปอร์เซ็นต์ จึงมีเสียงในการตัดสินใจมากที่สุด รวมทั้งยังเป็นผู้แสดงทิศทางการตัดสินใจแก่กรรมการคนอื่น โดยชายอเมริกันผู้มีวัย 56 ปีคนนี้จะมาเยือนอังกฤษเพื่อดูการแข่งขันของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดบ้างแต่ไม่มากเท่ากับอัฟราม นอกจากนี้เขายังเป็นประธานทีมอเมริกันฟุตบอลแทมปา เบย์ บัคคาเนียร์สในเอ็นเอฟแอลร่วมกับพี่น้องคนอื่นในตระกูลเกลเซอร์อีกสองคน
เควิน เกลเซอร์ – กรรมการ
เควินเป็นผู้ก่อตั้งและประธาน Glazer Properties ซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจอสังหาริมทีพย์ทั่วสหรัฐอเมริกาไม่ว่าจะเป็นช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ อาคารสำนักงาน และอพาร์ตเม้นต์ โดยในปี 2021 เควินและเอดเวิร์ด เกลเซอร์ได้ขายหุ้มแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดรวม 9.5 ล้านหุ้นในสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้จำนวนหุ้นสโมสรที่ครอบครัวเกลเซอร์ครอบครองอยู่ลดลงเหลือ 69 เปอร์เซ็นต์
ไบรอัน เกลเซอร์ – กรรมการ
ไบรอันจะมีส่วนร่วมในการบริหารทีมแทมปาเบย์ บัคคาเนียร์สมากกว่า เพราะมีตำแหน่งเป็นประธานร่วม รวมทั้งยังอยู่ในคณะกรรมการสื่อดิจิตอลของเอ็นเอฟแอล นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมอย่างมากในการออกแบบและสร้างสนามเรย์มอนด์ เจมส์ สเตเดียมของทีมอเมริกันฟุตบอลที่ตนเองบริหารอยู่ รวมทั้งยังเป็นผู้อำนวยการ Zapata Corporation ที่ลงทุนด้านต่างๆ อย่างแก๊สธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์โปรตีน และเวบไซต์
ดาร์ซี เกลเซอร์ เคสส์วิตซ์ – กรรมการ
นอกจากตำแหน่งผู้อำนวยการสโมสรแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดแล้ว เธอยังเป็นประธานมูลนิธิแทมปาเบย์ บัคคาเนียร์ส ซึ่งทำกิจกรรมต่างๆ กับชุมชน โดยประวัติในเวบไซต์ของทีมบอกว่าเธอเป็นพลังขับเคลื่อนเบื้องหลังนวัตกรรมต่างๆ ของบัคคาเนียร์ส รวมทั้งความคิดที่ก้าวหน้าในการนำแฟนๆ เข้ามามีส่วนร่วมกับทีม
เอดเวิร์ด เกลเซอร์ – กรรมการ
เป็นผู้ที่มีอายุน้อยที่สุดในครอบครัวเกลเซอร์ที่มีตำแหน่งบริหารในแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด แต่ก็ยังมีฐานะเจ้าของและประธานร่วมของทีมบัคคาเนียร์สด้วย โดยผลงานที่ถูกระบุไว้ในเวบไซต์ของทีม คือเป็นผู้มีส่วนทำให้บัคคาเนียร์สถูกจัดอันดับเป็นทีมที่สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าสูงสุดในบรรดา 32 ทีมในเอ็นเอฟแอลเมื่อปี 2022 ซึ่งเป็นครั้งที่ 9 ในรอบ 11 ปีที่บัคคาเนีบร์สได้ตำแหน่งนี้ นอกจากนี้เอดเวิร์ดยังเป็นผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ US Property Trust และ US Auto Trust ซึ่งทำธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์และดีลเลอร์รถยนต์ทั่วสหรัฐอเมริกา
ริชาร์ด อาร์โนลด์ – ซีอีโอและกรรมการ
อาร์โนลด์เป็นหนึ่งในผู้บริหารสโมสรที่แฟนบอลแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดรู้จักกันดี เพราะเลื่อนตำแหน่งจากผู้อำนวยการธุรกิจมาสู่ตำแหน่งปัจจุบันแทนเอด วูดเวิร์ด โดยผู้บริหารรายนี้เคยมีความเชี่ยวชาญด้านโทรคมนาคมและสื่อก่อนเข้ามาร่วมงานกับยูไนเต็ดในปี 2007 ในตำแหน่งผู้อำนวยการธุรกิจของกลุ่ม และควบคุมการดำเนินงานธุรกิจของสโมสรหลังจากวูดเวิร์ดเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปแทนเดวิด กิลล์ในปี 2013 เมื่อปีที่แล้วอาร์โนลด์เคยพบปะกับกลุ่มแฟนบอลของปีศาจแดงหลังจากที่พวกเขาวางแผนที่จะประท้วงสโมสร
คลิฟ บาตี้ – ซีเอฟโอและกรรมการ
ชาวผู้นี้รับผิดชอบรายงานเรื่องการเงินของสโมสรทุก 3 เดือน โดยเข้ามาอยู่กับสโมสรตั้งแต่ปี 2016 แล้วถูกแต่งตั้งให้อยู่ในคณะกรรมการตอนปี 2017 ส่วนประสบการณ์ในอดีตของบาตี้มาจากธุรกิจการพนัน
แพทริก สจ๊วต – ผู้บริหาร/ที่ปรึกษาด้านกฎหมายและกรรมการ
สจ็วตอยู่กับสโมสรมาตั้งแต่ปี 2006 โดยดูแลฝ่ายกฎหมาย ก่อนมาอยู่กับปีศาจแดงเขาเคยทำงานกับ TEAM Marketing ซึ่งขายสิทธ์ทางธุรกิจให้กับแชมเปียนลีก
โรเบิร์ต เลเตา – กรรมการอิสระ
เป็นหนึ่งในสามกรรมการอิสระของสโมสร ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้นรายย่อยของยูไนเต็ด นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งผู้บริหารในการดูแลธนาคาร Rothschild รวมทั้งยังเคยมีประสบการกว่า 30 ปีในการเป็นนายธนาคารที่ดูแลเรื่องการควบรวมกิจการและเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน
มานู ชอวห์นีย์ – กรรมการอิสระ
ก่อนหน้านี้ซอวห์นีย์เคยเป็นซีอีโอของสภาคริกเก็ตนานาชาติ (ICC) ซึ่งดูแลการแข่งขันใหญ่ๆ ของคริกเก็ต จากนั้นจึงมาทำงานกับ ESPN Star Sports
จอห์น ฮุกส์ – กรรมการอิสระ
กรรมการสโมสรแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดคนนี้มาจากธุรกิจแฟชัน เคยรับหน้าที่ประธานของกลุ่มจอร์โจ อาร์มานีและราล์ฟ ลอรองต์สสำหรับยุโรปและตะวันออกกลาง นอกจากนี้ยังเคยเป็นซีอีโอของ Pacific Global Management ในปี 2015 และรับหน้าที่กรรมการของ Miroglio Fashion
ไม่พลาดทุกข้อมูลข่าวสาร และโปรโมชั่นล่าสุดจาก FUN88
เชิญมาร่วมสนุกกับประสบการณ์ที่สมบูรณ์แบบได้ที่นี่
เลือกที่จะชนะไปกับเรา FUN88